ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

เจิ้น จิ่นหุย ยอดจิตรกรมุสลิม


ลายเส้นรูปพัดนกยูงบนผืนผ้าเขียนโดย เจิ้น จิ่นหุย ภาษาอาหรับที่อยู่ตรงกลางเป็นคำปฏิญานตน
ของมุสลิมว่า
"ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และมุฮัมหมัดเป็นศาสนทูตของพระองค์"

ค้นหา
ส่วนอักษรสีทองบนมุมทั้งสี่เป็นชื่อของมลาอิกะฮ์หรือทูตสวรรค์
ใน ยุคแห่งการปะทะทางวัฒนธรรมนี้ เจิ้น จิ่นหุย

(Chen Jinhui) ได้รวมวัฒนธรรมโบราณสองแห่งไว้ด้วยกันด้วยพู่กันหางหมาป่าและหมึกชั้นดีเท่า นั้น ชายใบหน้ากลมวัย 65 ผู้เต็มไปด้วยรอยยิ้มคนนี้นำวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก 2 แห่ง - อาหรับและจีน - ประดิษฐ์ประดอยสิ่งที่คุณอาจเรียกว่าลายเส้นอักษรอาหรับที่ใช้สไตล์จีน

วัฒนธรรม จีนและอาหรับถือว่าการเขียนลายเส้นอักษรเป็นสุดยอดของศิลปะ แต่ก็คล้ายกันแค่นั้นแหละ การเขียนลายเส้นอักษรจีนสามารถสะดุดตาด้วยอิสระเสรีของอารมณ์ความรู้สึก ในขณะที่การเขียนลายเส้นอักษรอาหรับมีกลิ่นไอของสมการคณิตศาสตร์ชั้นสูง เจิ้นพยายามนำสองอย่างนี้มารวมกันให้กลมกลืนตลอด 40 ปีที่ผ่านมา

เจิ้น นั่งให้สัมภาษณ์ที่ห้องทำงานอันเคร่งขรึมของเขาที่สถาบันศาสนาอิสลามที่กรุง ปักกิ่ง เขาช่างดูไม่เหมือนคนที่จะมาดื่มด่ำกับสุนทรียศาสตร์ของลายเส้นอาหรับและจีน เขากล่าวถึงฮีโร่ของเขาที่ชื่อ อิบนฺ มุคลา ยอดจิตรกรลายเส้นอาหรับผู้ที่พรสวรรค์ด้านนี้ของเขาถึงกับทำให้กาหลิบ อิบนฺ ราอิก อิจฉา และทำให้ยอดจิตรกรรายนี้ต้องจบชีวิตลงในปีค.ศ.940

"อิทธิพลของเขาเหนือกว่ากาหลิบองค์นั้นซะอีก ก็เพราะลายเส้นของเขานี่แหละ" เจิ้นกล่าว

เจิ้น ยังบอกอีกว่า มีอยู่ช่วงหนึ่งที่กาหลิบขี้อิจฉาออกคำสั่งให้ตัดแขนอิบนฺ มุคลา แต่ยอดจิตกรผู้นี้ก็ยังอุตส่าห์เอาปากกาผูกเข้ากับท่อนแขนที่เหลือและเขียน งานต่อไปอีก

"เลยทำให้หลายคนนับถือเขายังกะพระเจ้า" เจิ้นกล่าว "เขาโดนทำร้ายไม่รู้จะกี่ครั้ง แต่เขาก็ไม่หยุดที่จะเขียนงาน"

ช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม ศาสนาอิสลามถูกแบน การเขียนลายเส้นอักษรอาหรับที่แพร่หลายอยู่ในจักรวรรดิจีนกว่า 1,000 ปีก็ถูกสั่งห้ามด้วย และหลังจากจีนเปิดประเทศช่วงปลายทศวรรษ 1970 นั่นแหละที่ชาวจีนมุสลิมได้ละหมาดอย่างเปิดเผยกันอีกครั้ง และเริ่มติดต่อกับโลกมุสลิมทั้งหลาย
เจิ้น ไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่มักกะฮ์ในปีค.ศ.1989 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่เขาเริ่มเข้าร่วมแข่งขันการประกวดลายเส้นอาหรับ เขาชนะการประกวดมากมายหลังจากนั้นไม่กี่ปี

เมื่อ ปี 2002 งานของเขาส่วนหนึ่งถูกตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ของสถาบันศิลปะภาพถ่ายแห่งชาติ จีน นอกจากหนังสือเล่มนี้จะแสดงให้เห็นถึงลายเส้นอักษรอาหรับสไตล์จีนที่สวยงาม แล้ว ยังแสดงให้เห็นความสามารถของเขาในการเขียนลายเส้นอาหรับมาตรฐานโลกมุสลิมอีก หลายสไตล์เช่น Thulth, คูฟี (Kufic), Diwani และอื่นๆ

สไตล์ เหล่านี้เริ่มเขียนกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 6-7 จิตรกรมุสลิมสมัยนั้นเขียนลงบนหนังแพะ เปลือกไม้และผืนผ้า วัสดุเหล่านี้มีพื้นหยาบและไม่ค่อยซับน้ำ และยังต้องใช้เวลากว่าสีจะกลืนกับพื้นผิว นั่นคงเป็นสาเหตุทำให้ศิลปินอาหรับเน้นเรื่องรูปแบบและความสลับซับซ้อน มากกว่าจะเขียนให้ตัวอักษรลื่นไหล
ลายเส้นแบบ "กลวง"

ในทางกลับกัน เมื่อศาสนาอิสลามเผยแพร่เข้ามาในประเทศจีนเมื่อ 1,000 ปีก่อน ชุมชนมุสลิมสามารถหันมาใช้อุปกรณ์เยี่ยมยอดที่พวกเขาใช้มาหลายศตวรรษ -พู่กันกับกระดาษ! เจิ้นบอกว่าเมื่อใช้พู่กันจุ่มหมึกที่กึ่งแห้งวาดลงบนกระดาษจะทำให้เกิดลายเส้น "กลวง" และ พลิ้วไหว มองได้ชัดเจนกว่าลายเส้นแข็งๆ แบบที่เขียนกันในตะวันออกกลาง และในการแข่งขันประกวดการเขียนลายเส้นอักษรอาหรับแต่ละครั้ง ทั้งเจิ้นและงานของเขาได้รับความสนใจจากโลกมุสลิมมากๆ
"พวกเขาไม่รู้อะไรเกี่ยวกับชาวจีนมุสลิมเลย "คุณอ่านอัล-กุรอานได้ด้วยรึ!" พวกเขาถามงี้แหละ ดูเหมือนแต่ละคนจะประหลาดใจสุดๆ ทีเดียว" เจิ้นหัวเราะร่วน ตอนนี้เขากำลังตั้งอกตั้งใจกับงานชิ้นใหม่ คือเขียนประวัติลายเส้นอักษรอาหรับในประเทศจีน

"เป็นงานวิจัยที่ยากมาก ผมต้องเติมช่องว่างให้เต็ม" เขากล่าวพร้อมทั้งบอกอีกว่า เขามักนึกถึงพระวจนะอมตะของท่านศาสนฑูตมุฮัมหมัดที่ว่า "จงแสวงหาความรู้ แม้มันจะอยู่ไกลถึงเมืองจีน" เสมอ เพื่อเป็นกำลังใจให้มุ่งมั่นกับงานต่อไป

ที่มา: "A Brush with Islam" Far Eastern Economic Review, 166.10 (13 March 2003): Vol. 166: 53.

www.world-affairs.org/globalclassroom/curriculum/BeyondIslam/Unit3_China/M_Brush_with_Islam.doc

รายการบล็อกของฉัน