ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

Giotto di Bondone

ก่อนจะมาดูงานของจ็อตโต ดี บอนโดเน ชิ้นต่อไป เรามารู้จักสถานที่ประดิษฐานงานของเขากันก่อน จะได้พอเป็นแนวในการดูงานศิลปะคลาสสิค ที่มาที่ไปของผลงานของจิตรกรท่านนี้
ภาพวาดของ Giotto di Bondone
ชาเปลสโครเวนยี หรือ ชาเปลอารีนา (อิตาลี: Cappella degli Scrovegni, อังกฤษ: Scrovegni Chapel หรือ Arena Chapel) เป็นชาเปล(โบสถ์)ของนิกายโรมันคาทอลิกที่ตั้งอยู่ที่เมืองปาดัวในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบโรมานเนสก์ กอธิค ฟื้นฟูศิลปวิทยา บาโรก
     
ชาเปลสโครเวนยีมีจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนโดยจอตโต ดี บอนโดเนที่เขียนเสร็จในปี ค.ศ. 1305 ที่เป็นงานศิลปะชิ้นเอกที่มีความสำคัญที่สุดในศิลปะตะวันตก ชาเปลอุทิศให้ “พระแม่มารีคาริตา” (Santa Maria della Carità) ในโอกาสการสมโภชน์การประกาศของเทพในปี ค.ศ. 1305 จิตรกรรมฝาผนังของจอตโตเป็นภาพชีวิตของพระแม่มารีเพื่อฉลองบทบาทในการไถ่บาปให้แก่มนุษยชาติของพระองค์ ชาเปลรู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า “ชาเปลอารีนา” เพราะก่อตั้งบนที่ดินที่ซื้อโดยเอ็นริโค เดกลิ สโครเวนยีที่ติดกับโรงละครโรมัน (Amphitheatre) ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ในการแห่ฉลองการสมโภชน์การประกาศของเทพมาเป็นเวลานานก่อนที่จะมาสร้างชาเปลแล้ว ในโอกาสวันอุทิศมาร์เคตโตดาปาโดวาก็ประพันธ์บทสรรเสริญ (Motet) เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1305
          
เอ็นริโค เดกลิ สโครเวนยีผู้มีอาชีพให้ยืมเงินเป็นผู้สั่งให้สร้างชาเปลส่วนตัวนี้ติดกับคฤหาสน์ของครอบครัวในบริเวณที่ดินที่กว้างขวาง กล่าวกันว่าเอ็นริโคสร้างชาเปลนี้เพื่อแก้บาปให้บิดา เรจินาลโด เดกลิ สโครเวนยีบิดาของสโครเวนยีเป็นคนขูดเลือด (usurer) ที่ดังเต้กล่าวถึงว่าเป็นลำดับหนึ่งในเจ็ดลำดับของ “โทษภูมิ” ในมหากาพย์ “ไตรภูมิดังเต้” แต่จากการค้นคว้าศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ก็พบว่าเอ็นริโคเองก็คิดดอกเบี้ยแบบขูดเลือดขูดเนื้อ ฉะนั้นการสร้างชาเปลจึงอาจจะเป็นการแก้บาปของตนเองก็เป็นได้ อนุสรณ์ของเอ็นริโคอยู่ในบริเวณมุขตะวันออกของชาเปล และภาพของเอ็นริโคปรากฏในภาพ “การตัดสินครั้งสุดท้าย” ในการถวายชาเปลจำลองแก่พระแม่มารี
 
แม้ว่าจะเป็นชาเปลส่วนตัวของตระกูลแต่ก็ใช้ในโอกาสการฉลองการประกาศของเทพสำหรับสาธารณชนด้วย
  
นอกจากจะมีงานจิตรกรรมของจอตโตแล้วชาเปลก็ไม่มีสิ่งตกแต่งอื่นใด มีเพดานเป็นแบบเพดานโค้งประทุน ภาพ “การตัดสินครั้งสุดท้าย” เขียนบนผนังด้านในเหนือประตูทางเข้าทั้งผนัง แต่ละผนังจัดเป็นสามระดับของกลุ่มจิตรกรรม แต่ละระดับมีที่กว้างพอสำหรับภาพสี่ภาพที่แต่ละภาพกว้างสองตารางเมตร ด้านที่หันไปทางแท่นบูชาเริ่มเรื่องจากตอนบนขวาของผนังที่เป็นฉากชีวิตของพระแม่มารีที่รวมทั้งการประกาศของเทพแก่พระมารดาถึงการกำเนิดของพระองค์ และการนำพระองค์เข้าวัดเป็นครั้งแรก เรื่องดำเนินต่อไปจนถึงการประสูติของพระเยซู, ความทุกข์ทรมานของพระเยซู และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ทรงถูกตรึงกางเขน สิ่งที่มีลักษณะเด่นของจิตรกรรมชุดนี้คือการแสดงอารมณ์อันรุนแรงของภาพ, ลักษณะตัวแบบ และ ความเป็นธรรมชาติ จอตโตแยกภาพจากกันโดยการวาดสิ่งตกแต่งทางสถาปัตยกรรมเป็นภาพหินอ่อนและคูหา 

จอตโต ดี บอนโดเน (Giotto di Bondone) (ค.ศ. 1267 – 8 มกราคม ค.ศ. 1337), เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในนาม จอตโต (Giotto), เป็นสถาปนิกและจิตรกรชาวอิตาลี จากเมืองฟลอเรนซ์ ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้มีส่วนสร้างสรรค์ผลงาน ที่ก่อให้เกิดกระแสใหม่ในสังคมที่นำไปสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ในที่สุด

จอตโต ดี บอนโดเนเป็นจิตรกรร่วมสมัยกับจิโอวานนี วิลลานิผู้กล่าวว่าจอตโตเป็นช่างผู้มีความสามารถที่สุดในสมัยนั้น เป็นผู้วาดภาพตามกฏของธรรมชาติ และจอตโตได้รับเงินเดีอนจากรัฐบาลเมืองฟลอเรนซ์เนื่องมาจากความสามารถ

จอร์โจ วาซารี นักเขียนชีวะประวัติจากคริสต์ศตวรรษที่ 16 กล่าวว่า จอตโต เป็นผู้แยกตัวจากศิลปะแบบไบแซนไทน์อย่างชัดเจน และเป็นผู้นำในการใช้วิธีวาดอย่างถูกต้องจากธรรมชาติซึ่งเป็นวิธีที่ละทิ้งไปกว่าสองร้อยปีตั้งแต่สมัยกรีก

ผลงานชิ้นสำคัญของจอตโตคือภาพเขียน “ความโทมนัสกับร่างพระเยซู” ในชาเปลสโครเวนยีภายในวัดในเมืองปาโดวา หรือที่รู้จักกันว่าชาเปลอารีนา ภาพเขียนนี้สำเร็จลงในปี ค.ศ. 1305 เป็นภาพที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานชั้นเอกของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนต้น (Early Renaissance) 

อ้างอิงวิกิพีเดีย
   ^ Bartlett, Kenneth R. (1992). The Civilization of the Italian Renaissance. Toronto: D.C. Heath and Company. ISBN 0-669-20900-7 (Paperback). Page 37.
    ^ Giorgio Vasari, Lives of the Artists, trans. George Bull, Penguin Classics, (1965)
รียบเรียงเพิ่มเติมโดย Menmen

รายการบล็อกของฉัน