ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

ศิลปะกับที่อยู่อาศัย


ศิลปะกับที่อยู่อาศัย
มนุษย์ เหมือนสัตว์ทั่วไปที่ต้องการสถานที่ปกป้อง คุ้มครองจากสิ่งแวดล้อมรอบกาย ไม่ว่ามนุษย์จะอยู่แห่งใด สถานที่อย่างไร ที่อยู่อาศัยจะสร้างขึ้น เพื่อป้องกันภัยอันตรายจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัย ที่มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ มนุษย์จึงมีการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อสนองความต้องการและความพอใจของแต่ละ บุคคลมนุษย์ทุกคนมีการพัฒนาการในชีวิตของตนเองมนุษย์จึงนำพัฒนาการเหล่านี้ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ การพัฒนาที่อยู่อาศัยจึงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญสำหรับมนุษย์ที่อยู่อาศัย ในปัจจุบันถูกพัฒนาให้ทันสมัยกว่าในอดีตเนื่องจากต้องปรับปรุงให้เหมาะสมกับ สภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนแปลง แต่ในการปรับปรุงนั้น ควรคำนึงถึงสภาพทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นควบคู่กันไปการพัฒนาที่ อยู่อาศัยนั้นจึงจะเหมาะสมและสนองความต้องการอย่างแท้จริง

ที่ อยู่อาศัยโดยเฉพาะบ้านในปัจจุบัน จะมีรูปแบบที่เรียบง่ายใกล้ชิดธรรมชาติและคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก และเน้นในเรื่องเทคโนโลยีต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงตามรสนิยมการบริโภค นอกจากนี้ในการจัดตกแต่งภายในจะมีการผสมผสานการตกแต่งแบบตะวันตกและตะวันออก เข้าด้วยกัน ทำให้เกิดผลงานการตกแต่งในรูปแบบ Contemporary และ Oriental ที่ใช้งานได้สะดวกตามรูปแบบตะวันตก

ปัจจัย อีกประการหนึ่งในการจัดตกแต่งภายในบ้านคือการนำหลักการทางศิลปะมาผสมผสาน เข้ากับการตกแต่ง เพื่อให้การดำรงชีวิตภายในบ้านสะดวกทั้งกายและใจ และแสดงออกถึงความงดงาม และมีรสนิยมของผู้เป็นเจ้าของบ้าน องค์ประกอบทางศิลปะจึงถูกนำมาเกี่ยวข้อง องค์ประกอบทางศิลปะที่นำมาใช้ในการจัดแต่งแต่งที่อยู่อาศัย ได้แก่

1. ขนาดและสัดส่วน (Size and Proportion) ขนาดและสัดส่วนนำมาใช้ในการจัดที่อยู่อาศัย ได้แก่

1.1 ขนาดของห้อง ในการกำหนดขนาดของห้องต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำ หากเป็นห้องที่ใช้กิจกรรมมาก เช่น ห้องอาหาร ห้องครัว หรือห้องรับแขก ควรกำหนดขนาดของห้องให้มีพื้นที่รองรับกิจกรรมนั้น ๆ ให้เหมาะสม ไม่เล็กจนเกินไป เพราะจะทำให้คับแคบและไม่สะดวกต่อการทำกิจกรรม

1.2 จำนวน ของสมาชิกในครอบครัว ในการกำหนดขนาดของห้องต่าง ๆ ควรคำนึงถึงจำนวนของสมาชิกว่ามีมากน้อยเพียงใด เพื่อจะได้กำหนดขนาดของห้องให้เหมาะสมกับสมาชิก

1.3 เครื่อง เรือน ในการกำหนดขนาดของเครื่องเรือน ควรกำหนดให้มีขนาดพอดีกับห้องและสมาชิก หรือขนาดพอเหมาะกับสมาชิกไม่สูงหรือเตี้ยจนใช้งานไม่สะดวก

2. ความกลมกลืน(Harmony)ความกลมกลืนของศิลปะที่นำมาใช้ในการจัดตกแต่งที่อยู่ได้แก่

ความ กลมกลืนของการตกแต่งที่อยู่อาศัย การนำธรรมชาติมาผสมผสานในการตกแต่ง จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่งดงามการใช้ต้นไม้ตกแต่งภายในอาคารจะทำให้เกิด บรรยากาศที่ร่มรื่น เบิกบานและเป็นธรรมชาติ

ความ กลมกลืนของเครื่องเรือนในการตกแต่งภายในการเลือกเครื่องเรือนเครื่องใช้ที่ เหมาะสมและสอดคล้องกับการใช้สอย จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ในการใช้งาน การเลือกวัสดุที่ใช้ประกอบเครื่องเรือนภายในครัว ควรเป็นวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน ทนร้อนและทนรอยขูดขีดได้ดี เช่น ฟอร์ไมก้า แกรนิตหรือกระเบื้องเคลือบต่าง ๆ
ความกลมกลืนของสี ในการตกแต่ง ซึ่งต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะหากใช้ไม่ถูกต้อง
แล้ว จะทำให้ความกลมกลืนกลายเป็นความขัดแย้ง การใช้สีกลมกลืนภายในอาคาร ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของห้องผู้ใช้ เครื่องเรือนและการตกแต่ง การใช้สีกลมกลืนควรใช้วิจารณญาณ เลือกสีให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการใช้

3. การตัดกัน (Contrast)ใน การตัดกันโดยทั่วไปของการจัดตกแต่งที่อยู่อาศัยนิยมทำในรูปแบบของการขัดกัน ในการใช้เครื่องเรือนในการตกแต่ง เพื่อสร้างจุดเด่นหรือจุดสนใจในการตกแต่งไม่ให้เกิดความกลมกลืนมากเกินไป การออกแบบเครื่องเรือนแบบร่วมสมัย จึงได้รับความนิยมเนื่องจากสร้างความโดดเด่นของการตกแต่งได้เป็นอย่างดี

4. เอกภาพ (Unity)ใน การตกแต่งสิ่งต่าง ๆ หากขาดเอกภาพงานที่สำเร็จจะขาดความสมบูรณ์ในการตกแต่งภายใน การรวมกลุ่มกิจกรรมเข้าด้วยกัน การรวมพื้นที่ในห้องต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับกิจกรรม จึงเป็นการใช้เอกภาพในการจัดพื้นที่ที่ชัดเจน การจัดเอกภาพของเครื่องเรือนเครื่องใช้ก็เป็นสิ่งสำคัญ หากเครื่องเรือนจัดไม่เป็นระเบียบย่อมทำให้ผู้อาศัยขาดการใช้สอยที่ดีและขาด ประสิทธิภาพในการทำงาน

5. การซ้ำ (Repetition) การ ซ้ำและจังหวะเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กันการซ้ำสามารถนำมาใช้ในงานตกแต่งได้หลาย ประเภทเพราะการซ้ำทำให้เกิดความสอดคล้องของการออกแบบการออกแบบตกแต่งภายใน การซ้ำอาจนำมาใช้ในการเชื่อสายตา เช่น การปูกระเบื้องปูพื้นที่เป็นลวดลายต่อเนื่อง หรือการติดภาพประดับผนัง ถึงแม้การซ้ำจะทำให้งานสอดคล้อง หรือต่อเนื่อง แต่ก็ไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากเพราะจะทำให้ดูสับสน

6. จังหวะ (Rhythm) การ จัดจังหวะของที่อยู่อาศัยทำได้หลายลักษณะ เช่น การวางผังบริเวณหรือการจัดแปลนบ้านให้มีลักษณะที่เชื่อมพื้นที่ต่อเนื่องกัน เป็นระยะ หรือจังหวะ นอกจากนี้การจัดพื้นที่ใช้สอยภายในอาคารนับเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้เกิดระเบียบและสะดวกต่อการทำงาน และทำให้การทำงานและทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การจัดพื้นที่ใช้สอยภายในอาคารที่นิยมได้แก่ การจัดพื้นที่การทำงานของห้องครัว โดยแบ่งพื้นที่การทำงานให้เป็นจังหวะต่อเนื่องกัน ได้แก่ พื้นที่ของการเก็บ การปรุงอาหาร การล้าง การทำอาหาร และการเสิร์ฟอาหาร เป็นต้น

7. การเน้น (Emphasis)ศิลปะของการเน้นที่นำมาใช้ในที่อยู่อาศัย ได้แก่

การ เน้นด้วยสีการเน้นด้วยสีได้แก่ การตกแต่งภายในหรือภายนอกอาคารด้วยการใช้สีตกแต่งที่กลมกลืน หรือโดดเด่น เพื่อให้สะดุดตาหรือสดชื่นสบายตา ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการจัดนั้น

การเน้นด้วยแสงการเน้นด้วยแสงได้แก่ การใช้แสงสว่างเน้นความงามของการตกแต่ง และ

เครื่อง เรือนภายในบ้านให้ดูโดดเด่น การใช้โคมไฟหรือแสงสว่างต่าง ๆ สามารถสร้างความงามและให้บรรยากาศที่สดชื่น หรือสุนทรีย์ได้อย่างดี ในการใช้แสงไฟควรคำนึงถึงรูปแบบของโคมไฟ ที่ถูกต้องและเหมาะสมกับขนาดและสถานที่ ตลอดจนความกลมกลืนของโคมไฟและขนาดของห้อง

เน้น ด้วยการตกแต่งการเน้นด้วยการตกแต่งได้แก่ การใช้วัสดุ เครื่องเรือน เครื่องใช้หรือของตกแต่งต่าง ๆ ตกแต่งให้สอดคล้องสวยงามเหมาะสมกับรูปแบบและสถานที่ตกแต่งนั้น ๆ

8. ความสมดุล (Balance)การ ใช้ความสมดุลในการจัดอาศัยได้แก่ จัดตกแต่งเครื่องเรือน หรือวัสดุต่าง ๆ ให้มีความสมดุลต่อการใช้งาน หรือเหมาะสมกับสถานที่ เช่น การกำหนดพื้นที่ใช้สอยที่สะดวกต่อการทำงาน หรือการจัดทิศทางของเครื่องเรือนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และการทำงาน โดยเฉลี่ยกิจกรรมให้เหมาะสมและสมดุล

9. สี (Color)สี มีความสัมพันธ์กับงานศิลปะ และการตกแต่งสถานที่ เพราะสีมีผลต่อสภาพจิตใจและอารมณ์ของมนุษย์ สีให้ผู้อยู่อาศัยอยู่อย่างมีความสุข เบิกบานและรื่นรมย์ ดังนั้นสีจึงเป็นปัจจัยสำคัญของการจัดตกแต่งที่อยู่อาศัยในการใช้สีตกแต่ง ภายใน ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

วัตถุประสงค์ของห้องหรือสถานที่
ในการใช้สีตกแต่งภายใน ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของห้องหรือสถานที่ตกแต่ง เพื่อจะได้ใช้สีได้
อย่างเหมาะสม การใช้สีตกแต่งสถานที่ต่าง ๆ ภายในบ้าน แบ่งออกเป็นห้องต่างๆ ดังนี้

ห้อง รับแขก ห้องรับแขกเป็นห้องที่ใช้ในการสนทนา หรือต้อนรับผู้มาเยือน ดังนั้นห้องรับแขก ควรใช้สีอบอุ่น เช่น สีครีม สีส้มอ่อน หรือสีเหลืองอ่อน เพื่อกระตุ้นให้เบิกบานห้องอาหาร ห้องอาหารควรมีสีที่ดูสบายตา เพื่อเพิ่มรสชาติอาหาร อาจใช้สีที่กลมกลืน นุ่มนวลเพราะสีนุ่มนวลจะทำให้เกิดความสบายใจ

ห้อง ครัวห้อง ควรใช้สีที่ดูสะอาดตา และรักษาความสะอาดง่าย ห้องควรเป็นห้องที่ใช้ทำกิจกรรมจึงควรใช้สีกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการทำ กิจกรรม

ห้องนอน ห้องนอนเป็นห้องที่พักผ่อน ควรใช้สีที่สบายตา อบอุ่น หรือนุ่มนวล แต่การใช้ในห้องนอนควรคำนึงถึงผู้ใช้ด้วย

ห้อง น้ำ ห้องน้ำเป็นห้องที่ใช้ทำกิจกรรมส่วนตัว และต้องการความสบาย จึงควรใช้สีที่สบายตาเป็นธรรมชาติ และสดชื่น เช่น สีฟ้า สีเขียว หรือสีขาว และควรเป็นห้องที่ควรทำความสะอาดได้ง่าย

ทิศ ทาง การใช้สีตกแต่งภายในควรคำนึงถึงทิศทางของห้อง ห้องที่ถูกแสงแดดส่องควรใช้สีอ่อนเพื่อสะท้อนแสง ส่วนห้องที่อยู่ในที่มืด หรืออับ ควรใช้สีอ่อนเพื่อความสว่างเช่นกันเพศและวัย เพศชายหรือหญิง จะใช้สีในการตกแต่งไม่เหมือนกัน เพศชายจะใช้สีเข้มกว่าเพศหญิงเช่นสีเขียวเข้ม สีฟ้า หรือเทา ส่วนเพศหญิงจะใช้สีที่อ่อน และนุ่มนวลกว่า เช่น สีครีม สีเหลือง เป็นต้น

วัย ในแต่ละวัยจะใช้สีไม่เหมือนกัน เช่น ห้องเด็กจะใช้สีอ่อนหวานนุ่มนวล ห้องผู้ใหญ่จะมีสีที่อบอุ่น ห้องผู้สูงอายุจะใช้สีที่นุ่มนวล

ศิลปะ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการจัดตกแต่งที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว แต่ศิลปะยังช่วยจรรโลงใจให้สมาชิกในครอบครัวอยู่อย่างมีความสุข หากต้องการความสุขในครอบครัว ปัจจัยหนึ่งที่ควรคำนึงถึงสิ่งนั้น คือ “ศิลปะ”

รายการบล็อกของฉัน